คาร์ซีท อุบัติเหตุ และ ลูกน้อยของคุณ - Kiddo Pacific

คาร์ซีท อุบัติเหตุ และ ลูกน้อยของคุณ

คาร์ซีท อุบัติเหตุ

คาร์ซีท อุบัติเหตุ และ ลูกน้อยของคุณ

เมื่อความเปลี่ยนแปลง ความเห็น ความเหมาะสม และ ความสำคัญ ในเรื่องการโดยสารเด็ก ไปกับรถยนต์ของพ่อแม่

แปลเปลี่ยนจากขอความร่วมมือ เป็นกฎหมายเพื่อการบังคับใช้ ระหว่างเรื่องคาร์ซีท และ การเดินทางของครอบครัว พร้อมเด็ก

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ตอนนี้สำหรับทุกครอบครัวที่มีเด็กเล็ก คาร์ซีทเหมือนเป็นอีกหนึ่่งส่วนสำคัญ เหมือนหนึ่งส่วนที่ต้องมาพร้อมกับรถยนต์

ก่อนหน้านี้ การเดินทางพร้อมเด็ก ไม่ได้กำหนดว่าต้องติดตั้งคาร์ซีทในรถหรือไม่ เป็นเพียงการขอความร่วมมือ และ การรณรงค์ให้ติดตั้งมากกว่า

เพื่อความปลอดภัยของเด็กเมื่อเดินทาง หากครอบครัวไหนมองว่า การติดตั้งคาร์ซีท เป็นเรื่องของความสิ้นเปลือง คิดว่าใช้แค่เพียงเข็มขัดนิรภัย

ที่ติดตั้งมาพร้อมกับรถ และคาดให้เด็ก ก็เพียงพอแล้ว สำหรับการเดินทางพร้อมกันทั้งครอบครัว 

 

แต่เรื่องที่คิดกับความเป็นจริง ช่างสวนทางกับความเป็นจริง ในเรื่องของความปลอดภัยเมื่อใช้งานแค่เพียงเข็มขัดนิรภัยให้กับเด็กๆ

มีหลายเคสตัวอย่าง ที่เกิดความจริง อันน่าสลดใจ เมื่ออุบัติรถยนต์หลายครั้ง ได้พรากหลายสิ่งหลายอย่าง รวมไปถึงชีวิตของเด็ก ๆ 

ที่ไม่ได้นั่งคาร์ซีท ที่ได้รับมาตรฐาน หรือ ติดตั้งอย่างถูกต้อง ความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ ที่มากเกินกว่าจะทำความเข้าใจได้ 

ข่าวด้านบน เป็นข่าวได้รับการสะท้อน จากใจของแม่ผู้ผิดพลาดจากความประมาทของตนเอง โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ในปี 2562

กับคุณแม่จริยา ธีระสุปาณี คุณแม่ของน้องดาริน ที่อายุได้ 7 เดือน ณ เวลาเกิดอุบัติดังกล่าว

โดยหวังว่าจะเป็นอุทาหรณ์จากใจคุณแม่คนนึง ถึงหลาย ๆ ท่าน ที่มีลูกน้อย

และ รวมไปถึงกระแสดราม่า เรื่องเกี่ยวกับดราม่า ของคาร์ซีท ณ ขณะนี้ด้วย โดยระบุข้อความในเนื้อหาดังกล่าวว่า

 

“ถึงคนที่กำลังบ่นเรื่องการบังคับใช้คาร์ซีท

จากใจ ของคุณแม่คนนึง ที่เคยผิดพลาด จากการที่ไม่ให้ลูกนั่งคาร์ซีท แค่ 1 วัน เพราะว่าคาร์ซีท 

อยู่ในรถ ที่ตนได้ขับไปทำงาน และช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น ดารินโดยสารโดยรถอีกคัน 

ที่ไม่ได้มีการติดตั้งคาร์ซีท โดย ณ ขณะนั้น มีคุณยายอุ้มดาริน เพื่อป้อนนมอยู่ รถคุณตาที่กำลังขับ 

ไปพร้อมกับดาริน และ คุณย่า โดนชนท้าย โดยรถคันอื่น ทำให้รถพลิกคว่ำ และ ดารินวัย 7 เดือน

กระเด็นออกจากกระจกมานอกรถ อยู่บริเวณกลางถนน โชคดีที่ดาริน รอดชีวิต ไม่ใช่เด็กทุกคนจะโชคดีแบบดาริน

“อ้อมกอดแม่ปลอดภัย แต่ไม่ใช่ในรถ” “เราขับดี เราขับระวัง แต่คนอื่นเค้าระวังไหม?” ฝากไว้ และ ขอให้เด็กๆ

ในทุกบ้านปลอดภัย ถ้อยคำจากแม่คนนึง ที่อยากจะแชร์เรื่องที่เกิดขึ้นกับครอบครัว และ น้องดาริน

ในเรื่องของ คาร์ซีท อุบัติเหตุ และ ลูก

 

 

ในอีกข่าวที่น่าสนใจ เกี่ยวกับเรื่องของ คาร์ซีทอุบัติเหตุ และ เด็กๆ ที่เกิดเหตุ แต่เป็นสิ่งที่ดี เมื่อแม่ติดตั้ง และ ใช้งาน คาร์ซีทในรถ 

ในขณะเกิดเหตุ โดยเรื่องนี้ เป็นเรื่องของคุณแม่ลูกอ่อน ที่มีอายุเพียง 2 เดือน 

โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงสายเวลา 10.50 วันที่ 21 ธันวาคม 2565 อาสาสมัครได้รับแจ้งว่า มีรถยนต์ส่วนบุคคลคันนึง เกิดอุบัติเหตุเสียหลัก

พุ่งชนต้นไม้ข้างทาง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหนัก หรือเสียชีวิต รถคันดังกล่าวมีเด็กทารกอายุเพียง 2 เดือน โดยสารมาด้วย หลังได้รับแจ้ง

จึงลงพื้นที่ตรวจสอบ เหตุเกิด ณ ถนนหลังโรงเรียนแห่งหนึ่ง  ที่ตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี พบรถยนต์ สีบรอนซ์ ทะเบียน นครราชสีมา

สภาพรถ กันชนหน้า และ ล้อ บริเวณฝั่งคนขับนั้น พังยับ โดยรถได้เสียหลักชนต้นสัก ขนาด 40 เซ็นติเมตร หักโค่นลงจากการชน

โดยหญิงผู้ขับ ได้รับบาดเจ็บบริเวณแขนขวา สัญนิษฐานว่า อาจจะเป็นเพราะแรงกระแทก จากถุงลมนิรภัย 

บริเวณเบาะด้านหลัง พบเด็กชายอายุเพียง 5 เดือน หลุดออกจากคาร์ซ๊ท ตรวจสอบร่างกายแล้ว ไม่ได้รับบาดเจ็บ 

หรือไม่พบร่องรอยการบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่เร่งส่งแม่และลูก คนดังกล่าว ไปรพ อย่างเร่งด่วน เพื่อตรวจสอบ

ให้แน่ชัดเกี่ยวกับอาการบาดเจ็บ

 

สอบถามนางสาวพิมพ์พรรณ อายุ 37 ปี กล่าวว่า ตนขับรถ เพื่อจะพาลูกไปส่งให้กับพี่เลี้ยง เมื่อขับมาถึงจุดเกิดเหตุ 

ดันเกิดอาการณ์วูบกระทันหัน จากนั้นรถก็เสียหลัก พุ่งชนเข้ากับต้นไม้ ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดเรื่องดังกล่าว

น่าจะเกิดจากอาการหลับใน เนื่องจากตัวเองดูแลลูกเล็กทั้งคืน ทำให้นอนไม่พอ เกิดอาการอ่อนล้า 

วูบหลับ จนทำให้เกิดเหตุดังกล่าว แต่ด้วยที่ลูกนั่ง คาร์ซีท อุบัติเหตุ ครั้งนี้จึงเบาบางลง เนื่องจากความปลอดภัย

ในการนั่งคาร์ซีทของเด็ก 

 

 

คาร์ซีท อุบัติเหตุ

คราวนี้มาดูกันบ้างว่ากฎหมายกำหนดอย่างอย่างไน ในกระบวนเกี่ยวกับเรื่องคาร์ซีท และ การติดตั้งเมื่อโดยสาร

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 โดยบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

 

มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2560 เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560

 

และให้ใช้ความต่อไปนี้แทนมาตรา 123 ภายใต้บังคับมาตรา 123/1 ในขณะขับรถยนต์ ผู้ที่อยู่ในรถยนต์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

 

(1) ผู้ขับขี่ ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะขับรถยนต์

 

(2) คนโดยสาร

 

(ก) คนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์

 

(ข) คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

 

(ค) คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด

 

ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือคนโดยสารมีเหตุผลทางสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งได้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง แต่บุคคลนั้นต้องมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

 

ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กและที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตรายตาม (2) (ข) และวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ให้เป็นไปตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด

 

พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า ‘พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565’ มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

ทั้งนี้ หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

—————————————————————————————————————

ใส่ใจสักนิด กับความปลอดของลูกน้อย ติดตั้งคาร์ซีทให้ลูกทุกครั้ง เมื่อต้องเดินทาง และ โดยสารรถยนต์

>> Chicco KidFit  <<