คาร์ซีทนำขึ้นเครื่องบิน มีวิธีการอย่างไร? - Kiddo Pacific

คาร์ซีทนำขึ้นเครื่องบิน มีวิธีการอย่างไร?

คาร์ซีทนำขึ้นเครื่องบิน

คาร์ซีทนำขึ้นเครื่องบิน มีวิธีการอย่างไร?

หลายครั้ง เรามีโอกาสได้เดินทางไปเที่ยวในหลาย ๆ ที่ โดยวิธีการเดินทางคือ

การเดินทางด้วยเครื่องบิน เพราะบางครั้ง ต้องเดินทางไกล ข้ามจังหวัด หรือ แม้แต่ประเทศ

จะให้นั่งรถไปก็คงจะไม่ไหว ดังนั้นการเดินทางโดยเครื่องบิน ตอบโจทย์ทีสุดในเรื่องการเดินทางไกล เพราะประหยัดเวลา 

และมีความสะดวกสบายกว่าการเดินทางแบบอื่น ๆ เมื่อถึงบริเวณจุด เช็คอิน เรามักจะเอากระเป๋าเดินทางของเราไปชั่งน้ำหนัก เพื่อทำการโหลดลงใต้เครื่อง

หรือ ถ้ายังพอถือไหว ถือขึ้นเครื่องได้ ก็สามารถนำไปเก็บไว้ที่บริเวณกล่องด้านบนที่นั่งของเราก็ได้ กิจวัตรของการเดินทาง มักเป็นแบบนี้อยู่แล้ว

แต่ถ้าเกิดครั้งนี้ต่างออกไป โดยการเดินทางของคุณครั้งนี้ มาในบริบทของคุณพ่อคุณแม่ และ มีเจ้าตัวน้อยติดตามไปด้วย แน่นอนว่าไม่มีใครที่มีแขนเหล็ก

ที่จะอุ้มลูกได้ตลอดทั้งวัน ตลอดเวลา และสิ่งของที่จำเป็นเมื่อมีลูกไปเที่ยวด้วยนั้น คงหนีไม่พ้นเรื่องของ คาร์ซีท 

ถ้าที่บ้านของคุณมีอยู่แล้วนั่นเยี่ยมเลย เพราะอย่างน้อยเป็นของที่เราใช้อยู่แล้ว มั่นใจในคุณภาพ และ ใช้งานได้อย่างถนัดมือ ในเรื่องของฟังก์ชัน

เพราะไปเที่ยวนึง จะไปซื้อคาร์ซีทด็กครั้งละเป็นหมื่นต่อครั้ง ก็ใช่เรื่องอีก ทีนี้พอมีคาร์วีทเด็ก ต้องการจะเอาไปด้วย เพื่อใช้สำหรับการเข็นลูกเที่ยว

พอถึงสนามบิน จุดเช็คอินต้องยังไงต่อ หลายคนคงจะมีความงง แล้วคาร์ซีทละ เอาไปยังไง ? 

 

ก่อนเดินทาง หรือ ว่าจะเอา คาร์ซีทนำขึ้นเครื่องบิน ด้วยวิธีการใด เรามา Re-Cap กันนิดนึงว่า กฎของการขึ้นเครื่อง 

แล้วเกี่ยวกับครอบครัว เด็ก และ อุปกรณ์ มีข้อไหนบ้าง

 

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง เมื่อต้องเดินทางเพื่อไปเที่ยว หรือ กิจกรรมอื่นๆ 

  • คุณแม่ท้องขึ้นเครื่อง : ท้องกี่เดือนถึงห้ามขึ้น, เอกสาร
  • พาลูกเดินทาง : อายุ,ข้อกำหนด, เอกสาร, Passport
  • คาร์ซีท : ลูกนั่งตัก, นั่งคาร์ซีทบนเครื่อง, คาร์ซีทนำขึ้นเครื่องบิน โหลด,ค่าธรรมเนียม

 

คุณแม่ท้องขึ้นเครื่อง

(อายุครรภ์,ข้อกำหนด, เอกสาร,)

การโดยสารขณะตั้งครรภ์

แต่ละสายการบินอาจจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป ควรทำการปรึกษาแพทย์ประจำตัว

ควรตรวจสอบเงื่อนไขและข้อกำหนดของแต่ละสายการบิน ก่อนการเดินทาง

เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง ท่านควรทำการปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่านก่อนการเดินทาง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างช่วงการตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอด

ทั้งนี้ความปลอดภัยในการเดินทางโดยสารขณะตั้งครรภ์

จะต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการเดินทาง, อายุครรภ์, การตั้งครรภ์แฝด หรือกรณีพิเศษอื่นๆ

 

ตัวอย่างของ Jetstar

หากคุณตั้งครรภ์และมีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป

คุณต้องนำใบรับรองหรือเอกสารจากแพทย์

หรือพยาบาลผดุงครรภ์ที่จดทะเบียนติดตัวมาด้วย เพื่อยืนยันข้อมูลต่อไปนี้

  • วันกำหนดคลอด
  • ประเภทของการตั้งครรภ์ แบบเดี่ยว หรือตั้งครรภ์แฝด
  • ไม่มีความผิดปกติในการตั้งครรภ์
  • ท่านจะต้องมีเอกสารดังกล่าวติดตัวตลอดเวลาในขณะเดินทาง และสามารถแสดงเอกสารดังกล่าวได้ทุกเมื่อที่มีการตรวจเช็ค

ข้อควรระวัง: กรุณาตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านสามารถเดินทางไปยังประเทศปลายทางได้หรือไม่

ในกรณีที่ท่านเดินทางไปยังประเทศที่มีข้อจำกัดเรื่องผู้โดยสารตั้งครรภ์ต่างสัญชาติ

 

พาลูกเดินทาง

(อายุ,ข้อกำหนด, เอกสาร, Passport)

1.อายุเด็ก : อายุของเด็กที่สามารถขึ้นเครื่องได้นั้นขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละสายการบิน

แต่โดยส่วนใหญ่จะเฉลี่ยอยู่ที่ 14 วันขึ้นไป ดังนั้นถ้าเป็นเด็กในช่วงเกิดเดือนแรก ๆ ควรเช็คกับสายการบินให้แน่ใจ

 

2.การจองตั๋วเครื่องบินให้เด็ก : เมื่อทำการจองตั๋วโดยสารให้แจ้งข้อมูลของผู้โดยสารที่เป็นเด็ก

แก่เจ้าหน้าที่เพื่อให้สายการบินเตรียมการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารที่เป็นเด็ก

เช่น เตรียมเปลสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 6 เดือน และหนักน้อยกว่า 10 กิโลกรัม และสูงไม่เกิน 67 เซนติเมตร

เก้าอี้ติดรถยนต์สามารถนำขึ้นมาใช้ได้สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี โดยซื้อที่นั่งเพิ่ม

แต่ต้องเป็นรุ่นที่ได้รับการอนุญาตโดยองค์กรการบินระหว่างประเทศ

 

3.การจองตั๋วเครื่องบินให้เด็กและค่าใช้จ่าย : ส่วนใหญ่ถ้าอายุไม่ถึง 2 ขวบ

สายการบินสามารถให้นั่งตักได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือจ่ายเพียงเล็กน้อย,

ถ้าคุณแม่ต้องการให้ลูกนั่งคาร์ซีทต้องซื้อที่นั่งสำหรับคาร์ซีทด้วย, ถ้าลูกอายุ 2 ขวบขึ้นไป

ต้องซื้อตั๋วที่นั่งตามปกติ

เมื่อทำการจองตั๋วโดยสาร ให้แจ้งข้อมูลของผู้โดยสารที่เป็นเด็กแก่เจ้าหน้าที่เพื่อให้สายการบิน

เตรียมการอำนวยความสะดวก และ ความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารที่เป็นเด็ก

เช่น เตรียมเปลสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 6 เดือน และหนักน้อยกว่า 10 กิโลกรัม

และสูงไม่เกิน 67 เชนติเมตร เก้าอี้ติตรถยนต์ นำขึ้นมาใช้ได้สำหรับเต็กอายุน้อยกว่า 2 ปี โดยซื้อที่นั่งเพิ่ม

แต่ต้องเป็นรุ่นที่ได้รับการอนุญาตโดยองค์กรการบินระหว่างประเทศ

– ควรอุ้มเด็กเล็กไว้ระหว่างที่เครื่องขึ้นลง

 

– จัตเตรียมสื้อผ้าที่อุ่นพอ เนื่องจากอุณหภูมิบนเครื่องจะเย็นกว่าปกติ

 

– การเดินทางโดยเครื่องบิน ไม่แนะนำในทารกแรกเกิดอายุน้อยกว่า 2 สัปดาห์

  เพราะยังต้องปรับตัวจากการใช้ชีวิตนอกครรภ์มารดา และเพี่อให้แน่ใจได้ว่าทารกนั้นแข็งแรง และไม่มีความผิดปกติมาแต่กำเนิด

 

– เด็กที่มีโรคประจำตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะขาดออกชิเจน ขณะโดยสารอยู่บนเครื่องบิน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเดินทางทุกครั้ง

 

– การเปลี่ยนความดันบรรยากาศภายในห้องโดยสารของเครื่องบิน

  ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของความดันในหูชั้นกลาง ทำให้เกิดอาการปวดหูได้

  เพื่อลดอาการดังกล่าว ควรให้เด็กดื่มนม หรือ ใช้จุกยางสำหรับเด็ก

 (เต็กโตอาจให้ดื่มนมจากแก้ว หรือ ให้เคี้ยวหมากฝรั่ง

  โดยเฉพาะขณะที่เครื่องทำการลง ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดภาวะสมดุลของความดันในหูชั้นกลางได้)

 

– เด็กที่มีอาการเมาเครื่องบินควรรับประทานยาครึ่งชั่วโมงก่อนออกเดินทาง

 

Example Case

 

 

 

คาร์ซีทนำขึ้นเครื่องบิน

พาลูกเดินทาง

(อายุ,ข้อกำหนด, เอกสาร, Passport)

    • ติดต่อสายการบิน : สิ่งสำคัญที่สุดเลยไม่ว่าจะเป็นการที่ให้ลูกนั่งตักและไม่มีค่าใช้จ่ายในหลายๆ สารการบิน หรือ กรณีที่ซื้อที่นั่งหรือคาร์ซีทให้ลูก คุณพ่อและคุณแม่ควร ติดต่อสายการบินและแจ้งสายการบินก่อนทุกครั้ง เพื่อ เช็คเงื่อนไขต่างๆ หรือบางสายการบินจะมีโควตาที่นั่งคาร์ซีทจำกัดอยู่และอาจเต็ม
    • คาร์ซีทที่สามารถขึ้นเครื่องได้ : แต่ละสายการบินจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป แต่ถ้าเป็นสายการบินชั้นนำหรือสายการบินระหว่างประเทศ จะระบุว่าคาร์ซีทที่สามารถขึ้นเครื่องได้นั้นต้องเป็นคาร์ซีทที่ผ่านการรับรองโดย FAA ประเทศสหรัฐอเมริกา

    ดังนั้นเมื่อคุณพ่อคุณแม่จะเลือกซื้อคาร์ซีทและมีแพลนว่าจะนำลูกขึ้นเครื่องหรือโตแล้วจะพาลูกเที่ยว คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อคาร์ซีทที่ผ่านมาตรฐาน FAA หรือ FMVSS นั้นจะคุ้มค่ากว่า เพราะค่อนข้างนำขึ้นเครื่องได้ในหลายๆ สายการบิน

    • การนำคาร์ซีทขึ้นเครื่อง : ส่วนใหญ่เมื่อคุณได้จองที่นั่งคาร์ซีทแล้ว วันที่ถึงสนามบินให้นำคาร์ซีทไปยังเคาเตอร์เช็คอิน เพื่อให้ทางพนักงาน ตรวจสอบว่าคาร์ซีทผ่านข้อกำหนดของสายการบินหรือไม่ (เช่น สภาพคาร์ซีท, สติกเกอร์ FAA or FMVSS or AS1754 , ECE4L, NZ Standard 5411) เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว ให้รีบนำคาร์ซีทไปยัง gate โดยควรที่จะไปแต่เนิ่นๆ และแจ้งหน้า gate ว่ามีคาร์ซีทไปด้วย ซึ่งเราจะได้ขึ้นเครื่องๆ เนิ่นๆ

    ส่วนใหญ่แล้ว คาร์ซีทที่สามารถขึ้นเครื่องได้

    • ต้องมีสายรัดในตัว
    • การติดตั้งเป็นแบบโหมดหันหน้าออก
    • บูสเตอร์ซีทจะไม่สามารถติดตั้งบนเครื่องได้
    • ที่นั่งส่วนใหญ่จะให้นั่งติดหน้าต่างและไม่อนุญาตให้ใช้กับที่นั่งแถวประตูทางออก
  • ต้องมีสายรัดในตัว
  • การติดตั้งเป็นแบบโหมดหันหน้าออก
  • บูสเตอร์ซีทจะไม่สามารถติดตั้งบนเครื่องได้
  • ที่นั่งส่วนใหญ่จะให้นั่งติดหน้าต่างและไม่อนุญาตให้ใช้กับที่นั่งแถวประตูทางออก
  • กรณีไม่ผ่านข้อกำหนดส่วนใหญ่จะให้โหลดได้ฟรี โดยไม่นับรวมโควตา สัมภาระ
  • เครื่องบินบางรุ่นจะมี Air Bag จึงงดการอุ้มและให้ใช้คาร์ซีทที่ผ่านมาตรฐานแทน
    FAA ทำหน้าที่อะไร

องค์การบริหารการบินแห่งชาติ (อังกฤษ: Federal Aviation Administration – FAA) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา อยู่ในสังกัดกระทรวงคมนาคม คอยวางระเบียบและควบคุมตลอดจนตรวจสอบงานการบินพลเรือนของอเมริกา และยังเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานด้านการบินพลเรือนของประเทศต่างๆทั่วโลก

พาลูกเดินทาง

(อายุ,ข้อกำหนด, เอกสาร, Passport)

  • การนำคาร์ซีทโหลดใต้เครื่อง : ส่วนใหญ่แล้วหลายๆ สายการบิน ในกรณีที่เด็กเดินทางด้วย การนำคาร์ซีทหรือรถเข็นเด็กโหลดใต้เครื่องจะไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ในกรณีที่เด็กไม่ได้เดินทางด้วยจะต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยอาจคิดน้ำหนักรวมกับกระเป๋าสัมภาระ

อย่างไรก็ตามควรเช็คกับสายการบินนั้นๆ ก่อน เพราะมาตรฐานหรือข้อกำหนดของสายการบินแจ่ละที่นั้นแตกต่างกัน

Note : ควรเตรียมถุงหรือกล่องสำหรับใส่คาร์ซีท หรือสามารถ wrap พลาสติกเพื่อป้องกัยนความสกปรกและการชำรุด

  • ที่เปลี่ยนผ้าอ้อม : ส่วนใหญ่ในห้องน้ำของทุกสายการบินจะมีที่เปลี่ยนผ้าอ้อมอยู่ในห้องน้ำบนเครื่องบิน สามารถสอบถามพนักงานเพื่อสอบถาบวิธีการใช้งานได้เพิ่มเติม