การชนด้านข้างคาร์ซีท – ความปลอดภัยกับเทคโนโลยี
แน่นอนอยู่แล้วว่า การใช้งานคาร์ซีทนั้น เกิดจากการกำหนดกฎหมายของการใช้งาน เป็นเบื้องต้น เนื่องด้วยว่าเมื่อเด็ก ๆ ต้องเดินทางโดยสาร ไปกับรถยนต์โดยสารนั้น มีความเป็นต้องใช้คาร์ซีทให้กับเด็ก ๆ ที่อายุไม่เกิน 6 ปี เพราะเบาะโดยสารรถแบบผู้ใหญ่นั้น และ สายคาดนิรภัยนั้น ยังไม่เหมาะกับสรีระของเด็ก อายุไม่เกิน 6 ปี ด้วยความไม่พอของเบาะกับเด็กนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน หรือ อุบัติเหตุขึ้นนั้น ทำให้มีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก ที่จะเกิดเหตุการณ์การเสียชีวิต หรือ อวัยวะของเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี เมื่อไม่ได้ใช้คาร์ซีท นี่ไม่ได้เป็นเรื่องของการคาดการณ์ว่าจะเกิด แต่เป็นเรื่องที่เกิดขี้นจริง มีสถานการณ์ตัวอย่างเกิดขึ้นแล้ว มีทั้งเด็ก ๆ ที๋โชคดี รอดชีวิตแม้เกิดอุบัติเหตุ แต่ก็ไม่ใช่ทุกเคสที่จะโชคดีแบบนั้น ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องแบบนี้ขี้น อยากขอให้พ่อแม่ทุกท่าน ใช้คาร์ซีทสำหรับเด็กกันนะ
ตัวอย่างทารกที่ไม่ได้นั่งคาร์ซีท จากการทดสอบ การชน
แวะดูกฎหมายกันอีกที เกี่ยวกับคาร์ซีท เนื้อกฎหมาย ว่าไว้อย่างไร
“คาร์ซีท” ที่นั่งนิรภัย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกกฎหมายเพื่อความปลอดภัย ว่าด้วยการกำหนด ที่นั่งนิรภัยที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก และวิธีป้องกันอันตราย ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ พ.ศ.2566 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 ส.ค.2566 เป็นต้นไป
กำหนดให้เด็ก อายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่ง ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ส่วนรถรับจ้าง และ รถสาธารณะ ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องมีคาร์ซีท
นอกจากนี้ ยังให้รายละเอียดเรื่องที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กมี 2 แบบ คือ ที่นั่งนิรภัยชนิดนั่งหันไปทางด้านหลังรถ และ ที่นั่งนิรภัยชนิดนั่งหันไปทางด้านหน้ารถ โดยต้องมีระบบยึดเหนี่ยวตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรณีใช้ที่นั่งพิเศษแบบที่นั่งเสริมที่ไม่มีพนักพิง ต้องมีระบบยึดเหนี่ยวตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ส่วนกรณีประชาชนที่ไม่มีคาร์ซีท แต่มีเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีนั่งในรถด้วย ต้องปฏิบัติตามหลักทั้ง 3 ข้อ จึงจะถือว่าปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับยกเว้นไม่ต้องมีคาร์ซีท
- ขับรถด้วยความเร็วช้าโดยคำนึงถึงความปลอดภัย และต้องขับชิดซ้าย
- ให้เด็กนั่งในที่นั่งโดยสารตอนหลัง หากเป็นรถกระบะ หรือกึ่งกระบะให้นั่งโดยสารตอนหน้าได้ แต่ห้ามนั่งท้ายกระบะ
- จัดให้มีผู้ดูแลเด็กในขณะโดยสาร หรือให้เด็กรัดเฉพาะเข็มขัดรัดหน้าตัก (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
อย่างไรก็ตาม หากละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อความปลอดภัย มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
Ref : เด็กอายุไม่เกิน 6 ปีต้องนั่ง “คาร์ซีท” ยกเว้นรถรับจ้าง-รถสาธารณะ | Thai PBS News ข่าวไทยพีบีเอส
การชนด้านข้างคาร์ซีท –
สิ่งที่เราพบเห็นจากเรื่องของการชนนั้น เรามักจะเห็นการทดสอบ การชนของรถที่ด้านหน้า เป็นลักษณะของการชนประสานงา หรือ ชนกำแพง ทำให้เห็นลักษณะว่าเมื่อเกิดการชนด้านหน้าขึ้นนั้นเด็กที่นั่งคาร์ซีท และ ไม่นั่ง จะมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร เมื่อเกิดการชนขึ้น และ แน่ๆ เลยว่า จะต้องมีคำถามเกิดขึ้นว่า เอ้า แล้วถ้ามีการ test แต่การชนด้านหน้า แล้วถ้าเหตุการณ์มันเป็นการชนด้านข้างละ หรือ ชนกลางลำของรถละ จะเป็นอันตรายแค่ไหน กับเด็ก ๆ ซึ่งถ้าชนกันด้านข้างนี่ ภาพอาจจะดูน่ากลัวมากกว่า ชนกันข้างหน้าอีก (ไม่นับกรณีประสานงากับสิบล้อ) เพราะว่า การชนด้านข้างคาร์ซีทนั้น เหมือนพื้นผิวรับแรงนั้น จะน้อยกว่า เพราะหลังจากประตูก็คาร์ซีทเลย ถ้าเป็นการชนกับด้านหน้านั้น ยังมีกระโปรงรถ มีตัวเครื่อง ไหนจะถุงลมนิรภัยด้านหน้าอีก มองยังไงก็น่าจะปลอดภัยกว่าการชนด้านข้าง
เห็นได้ชัดเลยว่าการถูกชน จากด้านข้างนั้น ดูน่ากลัวกว่ามาก เพราะจะเห็นได้ว่าหุ่นนั้นเหมือนไม่ได้การปกป้องจากอะไรเลย ผ่านประตูมา ก็เข้าถึงตัวผู้ขับขี่เลย แล้วถ้าเป็นลูกน้อยละ พ่อแม่จะต้องเป็นห่วงขนาดไหน
รอบนี้เรามาดูกันบางว่า ถ้าเกิดการชน เมื่อมีเด็กนั่งอยู่บนคารืซีท แต่เป็นการชนจากทางด้านหน้า และ การโดนชนจากด้านข้าง โดยเด็กนั่งคาร์ซีท จะมีภาพเป็นอย่างไร
การชนจากด้านหน้า เมื่อนั่งคาร์ซีท
เห็นภาพจากการชนด้านหน้าแล้ว จะพบว่าเมื่อเด็กนั่งคาร์ซีทแล้ว ค่อนข้างปลอดภัยเลย สำหรับเด็ก ๆ ทั้งแบบหันออก และ หันหลังออก เด็กยังติดอยู่กับคาร์ซีท ไม่ได้กระเด็นหลุดออกมา ทั้งการขยับของร่างกาย ก็อาจจะไม่ได้เยอะมาก เมื่อเกิดเหตุจริงนั้น อาจจะได้รับการฟกช้ำ หรือ จุกบริเวณร่างกายบ้าง แต่ไม่ถึงกับเสียชีวิตแน่นอน ถ้าไม่ได้อัด Copy แรงจริงๆ
การชนจากด้านข้าง เมื่อนั่งคาร์ซีท
Test by Chicco KeyFit 30 |
Test By Recaro Car Seat |
ได้เห็นแบบนี้แล้ว ค่อนข้างโล่งใจว่า เมื่อเกิดการชนจากด้านข้างนั้น คาร์ซีท จะเป็นผู้ปกป้องเด็ก ๆ ไว้ได้แน่นอน เพราะดูจากทั้งสองเคสแล้วนั้น เด็ก ๆ มีกระแทกเล็กน้อย แต่โดยรวมแล้ว ยังถือว่าหุ่นดัมมีนั้น ยังอย่ในสภาพใกล้กับปกติมาก ๆ เมื่อเกิดการชนด้านข้างขึ้นจริง
ในเมื่อการชนด้านข้างนั้น ดูเป็นอันตราย และ น่ากลัวกว่าการชนด้านหน้าเป็นอย่างมาก คาร์ซีท ชั้นนำนั้น ในเทคโนโลยีอะไร กับ การชนด้านข้างคาร์ซีท ให้ผู้โดยสารที่เป็นเด็ก ยังปลอดภัย
เรามาดูกันดีกว่า ว่าเทคโนโลยีการป้องกันการชนด้านข้างของแต่ละแบรนด์ เป็นอย่างไรบ้าง ?
Chicco
DuoGuard® Technology DuoGuard® ให้การป้องกันแรงกระแทกด้านข้าง 2 ชั้น ชั้นแรก ประกอบไปด้วยวัสดุที่เป็นเหมือนเปลือกแข็ง หนา ทนทาน เพิ่มเติมชั้นในด้วยโฟมดูดซับพลังงาน EPS
โครงคาร์ซีทและเบาะยังเสริมโครงเหล็กอีกด้วย ทำให้มั่นใจว่าแข็งแรง และ ปกป้องจากการชนด้านข้างได้แน่นอน |
|
RECARO
ADVANCED SIDE PROTECTION (ASP) แผ่นที่ช่วยเพิ่มป้องกัน ที่ถูกสร้างมาในตัวสามารถเด้งออกเพื่อที่จะยันบริเวณด้านข้างประตูได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เด้งแบบอัตโนมัติ ในกรณีที่เกิดการชนด้านข้าง ตัวดูดซับพลังงานจะลดแรงที่จะกระทำต่อเด็ก และ คาร์ซีท การผสมผสานระหว่างตัวคาร์ซีท โครงสร้างที่นั่ง และปีกด้านข้าง ให้การป้องกันสามเท่าจากการชนด้านข้าง ในทุกมิติ |
|
MAXI-COSI
G-Cell Technology G-cell เป็นชุดของเซลล์หกเหลี่ยมที่สร้างขึ้นที่ด้านข้างของคาร์ซีท หากมีการชน เซลล์ที่มีรูปร่างพิเศษเหล่านี้จะกระจายแรง G ที่เกิดจากการกระแทก ออกจากร่างกายของเด็ก พูดง่ายๆ ก็คือ มันทํางานเหมือนกับโซนกันชนรถด้านข้างของรถคุณ ที่ผลิตให้มา โดยให้การดูดซับแรงอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นความเสียหายน้อยลง จากโฟมซับแรงลักษณะรูปทรง 6 เหลี่ยม
|
|
Cozy N SafeSide Impact Protectionการป้องกันแรงกระแทกด้านข้าง |
นี่เป็นส่วนหนึ่ง ของการป้องกันของแบรนด์คาร์ซีท ที่มีเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาโดยเจ้าของแบรนด์ ซึ่งแข่งขันกันอย่างเข้มข้น เพื่อให้มั่นใจว่า คาร์ซีทของพวกเขา จะปลอดภัยต่อเด็กที่สุด เมื่อได้รับการใช้งาน นับว่าเป็นข้อดีของพ่อแม่ ยิ่งเทคโนโลยีดีมากเท่าไหร่ ความปลอดภัยยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ไว้วางใจได้ว่า เมื่อเลือกผลิตภัณฑ์แล้ว จะไม่ผิดหวัง และ เป็นที่แน่นอนว่า ทุกเทคโนโลยีที่เรายกมานั้น ได้ผ่านการตรวจสอบ จากสถานบันตรวจสอบมาตรฐานการใช้งานคาร์ซีทแล้วอย่างแน่นอน ผ่านการทดสอบทุกกฎ ทุกส่วนของมาตรฐานที่จะได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ หรือ ระดับโลกแล้วเป็นที่เรียบร้อย ส่วนพ่อแม่จะชอบแบบไหน ลายไหน อันนี้แล้วแต่เลือกจ้า